ป่าไม้เมืองไทย

Vegetation Management Answers  > Environment >  ป่าไม้เมืองไทย
thai forest
0 Comments

          สำหรับประเทศไทย ระบบนิเวศป่าไม้จัดเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ มีขนาดเนื้อที่ค่อนข้างใหญ่ครอบคลุมป่าธรรมชาติที่เหลืออยู่ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการประกาศให้เป็นป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่คุ้มครองในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และวนอุทยาน มีพื้นที่รวมมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศ โดยป่าไม้เมืองไทย สามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. ป่าประเภทไม่ผลัดใบ จะเป็นป่าที่มองดูแล้วจะเขียนชอุ่มตลอดทั้งปี เนื่องจากต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นประเภทไม่ผลัดใบในฤดูแล้ง แต่ก็มีต้นไม้บางส่วนที่ทิ้งใบในฤดูแล้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งต่างจากต้นไม้ในป่าประเภทผลัดใบที่ทิ้งใบอย่างชัดเจนในฤดูแล้ง ป่าชนิดสำคัญที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่
  2. ป่าดงดิบเขา อยู่ในระดับความสูงเกินกว่า 1,200 Msl. เป็นป่าที่ขึ้นปกคลุมยู่บนยอดเขาสูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี
  3. ป่าสนเขา อยู่ในระดับความสูง 50 – 1,800 Msl. ป่าชนอดนี้ถือเอาเอกลักษณ์ของสังคมพืชเป็นหลักในการจำแนกโดยเฉพาะด้าน
  4. ป่าดงดิบแล้ง อยู่ในระดับความสูง 100 – 800 Msl. เป็นป่าที่โดยรวมแล้วจะเขียวตลอดทั้งปี แต่แท้จริงแล้ว พันธุ์ไม้ในป่าประเภทนี้จะเป็นการผสมระหว่างไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใบในสักส่วนที่ใกล้เคียงกัน
  5. ป่าดงดิบชื้น อยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 600 Msl. เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี
  6. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด อยู่ในที่ต่ำ ถูกจำแนกโดยลักษณะภูมิประเทศ เป็นป่าที่ไม่ผลัดใบที่อยู่ในลุ่มที่มีน้ำจืดขัง
  7. ป่าชายหาด อยู่ในระดับความสูงที่ใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล เป็นป่าทีขึ้นปกคลุมอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่ดินเป็นดินทรายจัด น้ำทะเลท่วมไม่ถึง
  8. ป่าประเภทผลัดใบ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทผลัดใบนี้เป็นจำพวกผลัดใบเกือบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่ม พอถึงฤดูแล้งต้นไม้ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบ ทำให้ป่าดูโปร่งขึ้น และมกจะเกิดปัญหาไฟป่าเผาไม้ใบไม้และต้นไม้เล็กๆ ตามมา ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่
  9. ป่าทุ่ง เป็นพื้นที่ที่มีไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่มผสมกับหญ้าปกคลุมพื้นที่สลับกันไป และมีไฟไหม้ทุกปี หญ้าในป่าทุ่งจะต้องสูงเกินกว่า 80 เซนติเมตรขึ้นไป และเป็นหญ้าที่มีใบแบนแตกต่างจากหญ้าที่ขึ้นอยู่ในทุ่งหญ้าที่มีใบม้วนกลม
  10.  ทุ่งหญ้าเขตร้อน สภาพทั่วปะประกอบไปด้วยหญ้าเป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เป็นหญ้ากว่ากว่า 10 เท่าของความสูงของต้นไม้ที่ปรากฏอยู่ พื้นที่ที่มีความสูงของหญ้าต่ำหว่า 80 เซนติเมตร ซึ่งพบน้อยมากในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เล็กๆ และถูกทำลายจนมาเหลือสภาพเดิมที่พบเห็นได้ เช่น ทุ่งดุลาร้องไห้