ฝุ่นละอองในอากาศ

Vegetation Management Answers  > Environment >  ฝุ่นละอองในอากาศ
ฝุ่นละออง
0 Comments

          สภาวะอากาศในปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไมได้ว่าที่มีสารเจือปน มีฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่นๆ อยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานที่สามารถทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่างๆ จากข่าวสารต่างๆที่ได้ยินและได้พบเจอ สาเหตุที่ทำให้สภาวะอากาศเป็นแบบนี้นั้นเกิดจาก ฝุ่นละอองจากลมพายุ ไฟไหม้ป่า ภูเขาไฟระเบิด แต่ส่วนใหญ่แล้วล้วนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น มลพิษจากท่อไอเสียยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม ขบวนการผลิต เป็นต้น และประเทศไทยได้เกิดปัญหาสภาวะทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝุ่นละอองขนาดเลขในอากาศ mujจมูกของมนุษย์ไม่สามารถกรองฝุ่นนี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้ต้องหาวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกัน เพราะอาจส่งเป็นอันตรายและผลเสียต่อสุขภาพร่างกายอย่างมากในภายหลัง

          โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ สามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ไม่เกิน 2.5 ไมครอน สามารถเทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ หรือที่เรียกกันว่า PM2.5 และฝุ่นละอองอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 10 ไมครอน หรือที่เรียกกันว่า PM 10 ซึ่งฝุ่นทั้ง PM 2.5 และ PM 10 นั้น มีอนุภาคที่เล็กจนขนจมูกของเราที่ทำหน้าที่ช่วยกรองฝุ่นละอองต่างๆนั้นไม่สามารถกรองได้ สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากเมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ

          ในปัจจุบันหลายภาคส่วนได้ให้ความสนใจกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้ง PM2.5 และ PM10 เป็นอย่างมาก จึงมีการผลิตเรื่องมือเครื่องใช้ที่จะสามารถช่วยป้องกันให้มนุษย์ไม่ได้ผลกระทบจาก/ฝุ่นละอองเหล่านี้ได้มากนัก และเครื่องมือที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็เห็นจะเป็น เครื่องวัดฝุ่นละออง ที่สามารถกำหนดความไวต่อฝุ่นจากขนาดของอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เครื่องวัดฝุ่นสามารถตรวจวัดได้ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องวัดฝุ่นละอองในอากาศยุคใหม่ ถูกใช้ในการออกใบรับรองมาตรฐานสำหรับห้องคลีนรูม มีขนาดความไวต่อฝุ่นอยู่ที่ 0.1, 0.3 หรือ 0.5 ไมครอน (μm) ดังนั้นเครื่องวัดฝุ่นจึงสามารถตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM10 และ PM2.5 ได้ อีกทั้งยังมีความไวต่อฝุ่นสูงขึ้น จากสามารถวัดอนุภาคได้เล็กลง และวัดอนุภาคได้มากขึ้นอีกด้วย

          อย่างไรก็ตาม ฝุ่นละอองที่เป็นพิษเหล่านี้ ล้วนมีอยู่ทั่วไปในอากาศ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้ ดังจะเห็นได้จากการเกิดปรากฎการณ์หมอกปกคลุมทั่วเมืองใหญ่ในช่วงเช้า ซึ่งไม่ใช่หมอกในฤดูหนาวแต่อย่างใด แต่เป็นฝุ่นพิษหรืออนุภาคในอากาศขนาดเล็กต่ำกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) และต่ำกว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) โดยความอันตรายของฝุ่นพิษนี้ได้สร้างความตื่นตระหนกและตื่นตัวต่อสาธารณชนในวงกว้าง จึงมีการรณรงค์ให้สวมใส่หน้ากากที่สามารถกรองอนุภาคใหญ่กว่า 0.3 ไมโครเมตร หรือ “หน้ากาก N95” เพื่อป้องกันการสูดอากาศที่มีฝุ่นพิษอย่าง PM10 และ PM 2.5 ในปริมาณที่สูง ที่อาจส่งผลกระทบถึงสุขภาพร่างกายอีกด้วย